top of page

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกซึ่งในหลักการและทฤษฎี และแนวคิดที่สำคัญในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ รวมถึงศาสตร์ในสาขาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการทำวิจัยโดยบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในสาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ได้ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ      

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย:       ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์

  • ภาษาอังกฤษ:   Doctor of Philosophy Program in Anatomy

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

  • แบบ 1.1   ไม่น้อยกว่า 48  หน่วยกิต

  • แบบ 2.1   ไม่น้อยกว่า 48  หน่วยกิต

  • แบบ 2.2  ไม่น้อยกว่า 72  หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  • ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา

  • การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • อาจารย์ประจำของสถาบันอุดมศึกษา     

  • นักวิชาการด้านกายวิภาคศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง

  • นักวิจัยหรือตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่ต้องการความรู้ ความสามารถทางกายวิภาคศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน

  • ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านกายวิภาคศาสตร์หรือโครงสร้างร่างกาย ประจำหน่วยงานเอกชน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • แบบ 1.1  สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือเทียบเท่า และเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านวิชาการและวิจัยโดยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่เป็นชื่อแรกหรือผู้นิพนธ์หลักอย่างน้อย 1 เรื่อง 

  • แบบ 2.1  สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ หรือสำเร็จปริญญาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ หรือเทียบเท่า ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.25       

  • แบบ 2.2  สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาอื่นที่ไม่ใช่กายวิภาคศาสตร์หรือสำเร็จปริญญาสัตวแพทยศาสตร์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.5 และสำเร็จการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี

  • เป็นผู้ที่มีสุขภาพดีแข็งแรงดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคร้าย ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีแพทย์ปริญญารับรอง

  • เป็นผู้มีความประพฤติดี

  • ผู้สมัครต้องผ่านเกณฑ์ความรู้ภาษาอังกฤษตามที่กำหนดไว้ ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 66/2559 หรือตามประกาศที่จะปรับปรุง 

การสอบคัดเลือก
ภาคต้น รอบที่ 1
ภาคปลาย
bottom of page